1. ก่อนการตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟของคุณทุกครั้ง คุณจะต้องทำการปิดสวิตซ์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟของเครื่องปั่นไฟก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์ ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดเองขณะทำการตรวจเช็คได้
2. ในทุกการใช้งานตลอดระยะเวลา 20 ชั่วโมงของการใช้งานเครื่องปั่นไฟ คุณจะต้องตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้
- ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟที่เหลือ จะต้องไม่มีตะกอนหรือคราบดำปรากฏให้เห็น และจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ทุกครั้งก่อนการใช้งาน เพื่อเป็นการบำรุงรักษาสภาพเครื่องยนต์ภายในให้มีสภาพดีอยู่เสมอ
- ทำความสะอาดหม้อน้ำหล่อเย็นในเครื่องปั่นไฟโดยการใช้ผ้าแห้งเช็ด และทำการตรวจสอบสภาพน้ำหล่อเย็น ซึ่งจะต้องมีความใสบริสุทธิ์ ไม่มีตะกอนหรือเปลี่ยนสี
- หลังจากการใช้งานทุกครั้ง ในบริเวณสายไฟหรือขั้วต่อในเครื่องปั่นไฟจะต้องทำการหมุนขั้วสายไฟให้แน่น และใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอ
3. ในส่วนของหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอกของเครื่องปั่นไฟ หลังจากการใช้งาน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิและป้องกันฝุ่นละออง
4. ในทุกๆ 3 เดือน หรือการใช้งาน 250 ชั่วโมง จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้
- ทำการถ่ายน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟ
- เปลี่ยนไส้กรองของน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องปั่นไฟ
- ทำความสะอาดไส้กรองภายใน
- ตรวจสอบท่อสายยางและเหล็กรัดท่อในเครื่องปั่นไฟหากชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที
- ตรวจสอบสภาพน๊อตของเครื่องปั่นไฟให้หนาแน่นอยู่เสมอ หากชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที
5. ในทุกๆ 6 เดือน หรือการใช้งาน 500 ชั่วโมง จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้
- ทำการเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นไฟ
- ทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศของเครื่องปั่นไฟ